Apple โต้ไม่รักสิ่งเเวดล้อม ขูดรีดเเรงงาน จัดทำหน้าเเสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของซัพพลายเออร์


ถึงเเม้ว่า Apple จะประสบความสำเร็จอย่างสูงในเเง่ของยอดขายเเละการสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีผู้ใช้อยากเป็นเจ้าของ เเต่จากการการดำเนินการนั้นถึงเเม้ Apple จะไม่ได้เป็นผู้ผลิตอุปกรณ์ด้วยตัวเอง เเต่ก็มีซัพพลายเออร์เป็นตัวเเทนรับจ้างผลิตให้ ซึ่งมักจะมีข่าวในเเง่ลบอย่างมากถึงการขูดรีดเเรงงานเเละกดขี่เเรงงานโดยให้ค่าเเรงที่ต่ำเเละสภาพการทำงานที่เเย่จนทำให้มีการฆ่าตัวตายเกิดขึ้นภายในโรงงาน
Apple ดูเหมือนก็ไม่อยากจะให้ชื่อเสียงของตัวเองด่างพร้อยกับเรื่องที่ดูเอาเปรียบสังคมจากการใช้เเรงงานจีนที่ค่าเเรงต่ำเเละมีคุณภาพชีวิตที่เเย่ โดย Apple ได้จัดทำหน้าเว็บขึ้นมาใหม่ในชื่อว่า “Supplier Responsibility” คือความรับผิดชอบขอบซัพพลายเออร์ (ผู้ส่งชิ้นส่วน / รับจ้างผลิตสินค้า) ต่อสังคม โดยบอกความพยายามสร้างกระบวนการของ Apple ในการตรวจสอบเเละพัฒนาสภาพเเวดล้อมในการทำงานของซัพพลายเออร์ในส่วนหนึ่งที่เป็นหนึ่งในห่วงโซ่อุปทานของ Apple โดยการตรวจสอบครั้งนี้มีจำนวนของซัพพลายเออร์ถึง 97% ที่ Apple ใช้บริการอยู่ในการผลิตสินค้าทั้งหมด ซึ่งเพิ่มมาจากปี 2010 ถึง 80%
ทุกๆ ปีนั้น Apple จะตรวจสอบซัพพลายเออร์ใน 8 หัวข้อ คือการต่อต้านการเหยียดผิว, การปฏิบัติต่อลูกจ้าอย่างเป็นธรรม การป้องกันเเรงงานโดยไม่สมัครใจ การป้องกันเเรงงานอายุต่ำกว่าเกณฑ์ การป้องกันเเรงงานเด็ก ชั่วโมงการทำงาน ค่าจ้างเเละผลตอบเเทน เเละการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัวกัน
ผลการตรวจสอบพบว่ามีซัพพลายเออร์หลายรายละเมิดข้อกำหนดในหลายเรื่อง มีโรงงาน 42 เเห่งจ่ายค่าเเรงล่าช้า 68 เเห่งไม่ให้สวัสดิการไม่เหมาะสม 108 เเห่งไม่สามารถจ่ายค่าเเรงต่ำกว่าที่กำหนดสำหรับการทำงานล่วงเวลาเเละในวันหยุด 5 เเห่งมีการใช้เเรงงานอายุต่ำกว่าเกณฑ์
จากปัญหาที่พบดังกล่าวเเละเพื่อความโปร่งใสในการดำเนินงาน Tim Cook ได้ประกาศไว้ในจดหมายภายในของ Apple ว่า กลุ่มพิทักษ์สิทธิเเรงงาน (Fair Labor Association – FLA) จะเข้ามาทำการตรวจสอบโรงงานต่างๆ ที่ผลิตชิ้นส่วนให้กับ Apple ในฐานะองค์กรอิสระ เพื่อความโปร่งใสในการดำเนินงาน
นอกจากนี้เเล้ว Tim Cook ยังได้ให้สัมภาษณ์กับ Wall Street Journal ว่าต่อเเต่นี้ไป Apple จะตรวจสอบโรงงานเหล่านี้อย่างใกล้ชิด เเม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อยก็ตามโดยต่อเเต่นี้ไปผู้ผลิตจะต้องอยู่ภายใต้ ”กฏระเบียบของ Apple” เพื่อให้เเน่ใจว่าเเรงงานทำงานในเงื่อนไขที่เหมาะสม เเละถ้าโรงงานไหนไม่สามารถทำได้ตามมาตรฐาน เราก็จะเลิกทำงานกับโรงงานนั้นทันที เเละจากโครงการ Supplier Responsibility ทำให้เกิดการพัฒนาในการจ้างเเละดำเนินงานของซัพพลายเออร์ โดยมีทีมงานเข้าไปสัมภาษณ์พนักงาน ตรวจสอบประวัติการจ้างงาน เเละอื่นๆ ความพยายามเหล่านี้ทำให้ตัวเลขการจ้างเเรงงานอายุต่ำกว่าเกณฑ์ต่ำกว่าปีที่เเล้วมาก
tim-cook-apple-ceo
ในเรื่องของมาตรฐานไม่จำกัดว่าจะอยู่เเค่ขั้นตอนในการปฏิบัติงานเท่านั้น เเต่รวมไปถึงคุณภาพชีวิต Apple ก็ได้ตั้งมาตรฐาน “หอพัก” สำหรับพนักงานด้วย เเละเพื่อให้เข้ากับข้อกำหนดเบื้องต้นของ Apple โรงงานต้องเปลี่ยนหอพักเข้ากับมาตรฐานของ Apple รวมไปถึงการให้ความรู้เเก่สิทธิของพนักงาน รวมไปถึงสุขภาพเเละความปลอดภัยในโรงงาน โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายเเต่อย่างใด เเละรวมไปถึงความรู้ธุรกิจเบื้องต้น ความเป็นผู้ประกอบการหรือภาษาอังกฤษอีกด้วย
ใครสนใจรายะเอียดในโครงการ Supplier Responsibility สามารถอ่านตัวเต็มได้ตามลิงค์นี้ครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Apple ปฏิวัติโลกการศึกษา: เปิดตัว iBooks 2, iBooks Author และ iTunes U App สำหรับ iPad

หรือในอนาคต Apple จะกลายเป็นเหมือน Sony ?

ซูมเทียบกันชัดๆ ระหว่างจอ iPad ตัวใหม่และ iPad 2 ว่าต่างกันขนาดไหน